ทดสอบ เท่านั้น .... เดี๋ยวจะเปลี่ยนข้อความ
คนในยุคดึกดำบรรพ์รู้จักเส้นทางข้ามคาบสมุทรระหว่างอันดามันกับอ่าวไทยมาตั้งแต่ยุคสุวรรณภูมิ ราว 2,555 ปีมาแล้ว ในครั้งนั้นมีพ่อค้าจากอินเดีย, อิหร่าน, อาหรับ, ฯลฯ ต่างใช้เรือใบขนสินค้าข้ามมหาสมุทรอินเดียเพื่อต้องการไปสู่จุดหมายปลายทาง นั่นคือจีน
แต่การเดินทางอ้อมไปทางเกาะชวาของอินโดนีเซียหรือผ่านช่องแคบมะละกาไม่เพียงมีระยะทางไกลแต่ยังเต็มไปด้วยภยันตราย จึงเกิดการขนสิ่งของสินค้าข้ามคาบสมุทรจากฝั่งอันดามันมาออกทะเลที่อ่าวไทยเพื่อขนถ่ายลงเรืออีกทอดหนึ่งไปยังจีน เส้นทางข้ามคาบสมุทรนี้มีหลายเส้นทางทำให้เกิดบ้านเมืองชุมชนน้อยใหญ่ทั้งที่ต้นทาง กลางทาง และปลายทางขึ้นเป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ "เส้นทางข้ามคาบสมุทรช่องสิงขร" เชื่อมระหว่างทะเลอ่าวไทยที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ผ่านช่องสิงขรและเมืองตะนาวศรีไปยังเมืองท่ามะริดบนฝั่งทะเลอันดามัน
แต่การเดินทางอ้อมไปทางเกาะชวาของอินโดนีเซียหรือผ่านช่องแคบมะละกาไม่เพียงมีระยะทางไกลแต่ยังเต็มไปด้วยภยันตราย จึงเกิดการขนสิ่งของสินค้าข้ามคาบสมุทรจากฝั่งอันดามันมาออกทะเลที่อ่าวไทยเพื่อขนถ่ายลงเรืออีกทอดหนึ่งไปยังจีน เส้นทางข้ามคาบสมุทรนี้มีหลายเส้นทางทำให้เกิดบ้านเมืองชุมชนน้อยใหญ่ทั้งที่ต้นทาง กลางทาง และปลายทางขึ้นเป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ "เส้นทางข้ามคาบสมุทรช่องสิงขร" เชื่อมระหว่างทะเลอ่าวไทยที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ผ่านช่องสิงขรและเมืองตะนาวศรีไปยังเมืองท่ามะริดบนฝั่งทะเลอันดามัน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นจังหวัดของภาคกลางตอนล่าง นับเป็นประตูสู่จังหวัดภาคใต้ที่มีชายฝั่งทะเลยาวตลอดแนว ถึง 212 กิโลเมตร และยังเป็นพื้นที่ที่แคบที่สุดของประเทศไทย ที่สำคัญยังมีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาโดยมีช่องทางเข้าออกชายแดนทั้งหมด 35 ช่องทาง แยกเป็นช่องทางธรรมชาติ 34 ช่องทาง และมีจุดผ่อนปรนชั่วคราวเพียง 1 ช่องทาง นั่นคือ "ด่านสิงขร”
ด่านสิงขร ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นจุดผ่อนปรนทางการค้าชายแดนที่มีน่าสนใจ กล่าวคือมีระยะทางเพียง 180 กิโลเมตร ไปถึงเมืองมะริดของเขตตะนาวศรีที่มีศักยภาพสูงทางด้านอุตสาหกรรมการประมงและการท่องเที่ยว เพราะประกอบด้วยเกาะแก่งต่าง ๆ มากถึง 800 เกาะ เพราะด่านสิงขรห่างจากถนนเพชรเกษมราว 20 กิโลเมตร จากนั้นเดินทางด้วยรถยนต์เพียง 275 กิโลเมตร จะถึงกรุงเทพฯ โดยใช้เวลาเพียง 4 ชั่วโมง จึงเป็นเขตชายแดนที่ใกล้เมืองหลวงของไทยมากที่สุด ในอนาคตด่านสิงขรจะเป็นแลนด์บริดจ์สำคัญที่จะเชื่อมต่อฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ซึ่งในวันนี้อ่าวไทยมีท่าเรือน้ำลึกแล้ว
ส่วนที่มะริดก็มีท่าเรือที่รอการพัฒนา หากมีการยกระดับเป็นด่านถาวรจะเป็นการเปิดกว้างทางการการค้าและการลงทุนอย่างมาก โดยเฉพาะจะเกิดการขนส่งวัตถุดิบประมงไปยังปลายทางที่ตลาดมหาชัย จ.สมุทรสาคร เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมการแปรรูปย่อมจะได้ปลาที่สดกว่าต้นทุนด้านโลจิสติกส์ต่ำกว่าและใช้เวลาน้อยกว่าการขนส่งไปที่ จ.ระนอง เหมือนในปัจจุบัน
ปัจจุบันทางการสหภาพเมียนมาได้เปิดด่านตรงข้ามด่านสิงขรที่เรียกว่า "ด่านมูด่อง” ให้เป็นด่านถาวรแล้วเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 แต่นั่นยังเป็นการเปิดด่านถาวรเพียงฝ่ายเดียว ขณะที่ด่านสิงขรของไทยยังมีสถานะเป็นเพียงจุดผ่อนปรนทางการค้าเท่านั้นนั่นเพราะติดปัญหาเรื่องเขตแดนระหว่าง 2 ประเทศที่ยังไม่มีความชัดเจนแม้ทางการในระดับท้องถิ่นของ 2 ประเทศจะเจรจาเพื่อหาข้อยุติเพื่อให้มีการเปิดด่านสิงขร-มูด่องเป็นมาตรฐานเดียวกัน แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน
ล่าสุดพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย ได้หารือกับพลเอกเตงเส่ง ประธานาธิบดีของสหภาพเมียนมาในปัญหานี้แล้วที่เนปิดอว์เมื่อเดือนตุลาคม 2557 โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าควรเร่งยกระดับจุดผ่อนปรนทางการค้าสิงขรให้เป็นด่านถาวรโดยไม่ต้องรอเรื่องข้อตกลงเขตแดนระหว่าง 2 ประเทศ
อย่างไรก็ตาม เมื่อลงลงสู่ระดับปฏิบัติของเจ้าหน้าที่แล้วจะสามารถขับเคลื่อนได้รวดเร็วมากน้อยเพียงใดยังเป็นเรื่องที่น่าติดตาม
ในอดีตการค้าข้ามคาบสมุทรระหว่างประจวบ–มะริด สร้างความรุ่งเรืองให้เกิดขึ้นกับบ้านเมืองในดินแดนแถบนี้มานาน จนเมื่อเกิดรัฐชาติและเส้นเขตแดนขึ้นสิ่งนี้ได้กลายเป็นอุปสรรคขวางกั้นทั้งทางด้านการค้า การไปมาหาสู่กันของผู้คนทั่วทั้งภูมิภาค หากทุกฝ่ายไม่เร่งแก้ไขปัญหานี้โดยเร่งด่วนย่อมเป็นการปิดโอกาสในการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนทั้งสองประเทศ และแน่นอนว่าย่อมเป็นอุปสรรคต่อการหลอมรวมกันเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้นี้ด้วยเช่นกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น