ไปเที่ยวเมืองมะริด วันนี้ อยากให้รู้จักสถานที่แห่งหนึ่ง ที่เป็นทางผ่าน นั่นคือ "ศาลเจ้าพ่อหินกอง" ซึ่งเป็นศาลไทยและพม่าตั้งหันหลังชนกันครับ ......
เลยจุดตรวจ ตชด.ไทยไปประมาณ 200 ร้อยเมตร เข้าสู่พื้นที่ซึ่งทั้งฝ่ายไทยกับพม่าตกลงให้เป็นเขต "No man's land” มีศาลเจ้าที่ไทยและเมียนมา 2 หลังตั้งหันหลังชนกันอยู่ มีเรื่องราวบอกเล่าจากผู้สร้างศาลที่ยังมีชีวิต อดีตผู้ใหญ่บ้านสิงขร ช่วงปี 2539 – 2556 คุณฉอ้อน วิไลรัตน์ เล่าว่าศาลนี้ชื่อ "ศาลเจ้าพ่อหินกอง" อดีตนั้นตั้งอยู่เลยจากด่านนี้ขึ้นไปทางฝั่งเมียนมานับสิบ ๆ กิโลเมตร เดิมมีลักษณะเป็นเพียงกองหินศักดิ์สิทธิ์ซึ่งชาวกะเหรี่ยงให้ความเคารพสักการะ และยังเป็นจุดที่ตำรวจตระเวนชายแดนไทยต้องลาดตระเวนไปให้ถึงที่นั่นสมัยที่ทหารเมียนมายังไม่เข้ายึดครองพื้นที่แถบนี้
กระทั่งเมื่อซัก 50 ปีที่แล้ว "หมวดวิสูตร" หัวหน้า ตชด. สมัยนั้นเห็นว่าการลาดตระเวนไปถึงศาลเจ้าพ่อหินกอง (เก่า) ช่างแสนลำบากยากเข็ญ จึงนำหินจากที่นั่นมาหนึ่งก้อนแล้วสร้างขึ้นเป็นศาลเจ้าพ่อหินกองแห่งใหม่ขึ้นในที่ปัจจุบัน
เมื่อผู้ใหญ่ฉะอ้อนเข้าดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านในปี 2539 เห็นว่าศาลผุพังเต็มทีจึงคิดจะสร้างศาลหลังใหม่ แต่ทางฝ่ายทหารเมียนมาไม่ยินยอมให้มีการก่อสร้างใด ๆ ในพื้นที่ No man's land ซึ่งผู้ใหญ่ฉะอ้อน ก็ไม่ได้สร้างศาลลงในพื้นที่ แต่ซื้อศาลทรงไทยมาจาก จ.เพชรบุรี แล้วนำมาตั้งไว้แทนศาลหลังเก่าจน ทหารเมียนมาเห็นเช่นนั้น ก็มาคุยกับผู้ใหญ่ว่าจะขอตั้งศาลแบบเมียนมาขึ้นบ้าง หลายคนเชื่อว่าเพราะเป็นเขต No man's land จึงไม่ควรมีสัญลักษณ์ของไทยเพียงฝ่ายเดียว ผู้ใหญ่ฉะอ้อนเกี่ยงว่าการตั้งศาลก่อนหน้านี้เป็นเรื่องของศรัทธาชาวบ้านจึงไม่เหมาะที่ทหารฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเข้ามาเกี่ยวข้อง สุดท้ายทหารเมียนมาทำได้เพียงการสนับสนุนเงินและไม้ให้แก่ชาวบ้านคนไทยช่วยกันสร้างศาลเมียนมาขึ้น เมื่อศาลแบบไทยตั้งไปก่อนหน้าแล้วโดยหันหน้ามาทางประเทศไทย เมื่อศาลเมียนมาสร้างขึ้นภายหลังจึงต้องหันหน้าไปทางเมียนมา ผลคือศาลทั้งสองหลังหันหลังชนกันอย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน
( ข้อมูลด้านบน ผู้ใหญ่ฉะอ้อน ก็ดี หมวดวิสูตรก็ดี อ้างอิงมาจากงานเขียน อดิศักดิ์ ศรีสม ส่วนอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์ )
ส่วนอีกเรืองเล่า จากผู้สูงอายุคนประจวบ เล่าตามแบบที่เคยได้ยินมาว่า เพราะพื้นที่ภูเขาแถบนั้น เป็นพื้นที่กะเหรี่ยงสมัยก่อน มีโจรชุกชุมมาก มีการขโมยวัวควายจากทั้งไทยและพม่าเป็นประจำ และโจรผู้ร้ายมักจะถูกฆ่าตาย ตรงตำแหน่งนี้อย่างมากเป็นกองศพกันเลยทีเดียว ( นี่เป็นเรื่องเล่าชาวบ้าน)
ศาลทั้งสองจะมีความศักดิ์อย่างไร ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของผู้คนที่ศรัทธา มองในงานศิลปะ ทั้งสองศาลนี้มีข้อแตกต่างกันอย่างชัดเจน ศาลไทย หลังคาทรงแหลมแบบบ้านไทย ส่วนของพม่า หลังคาเป้นชั้นๆลดระดับ พื้นที่ในบริเวณศาลดูเก่าเสื่อมโทรมบ้าง ในขณะที่ทั้งสองประเทศกำลังพัฒนาไปข้างหน้า แต่ทว่าพื้นที่ตรงนี้ และยาวขึ้นไปอีกจนถึงด่านมู่เด่า ยังบอกไม่ได้ว่า ใครควรเป็นเจ้าของ จึงเป็นพื้นที่ ๆ กฏหมายของทั้งสองประเทศยังเอื้อมไม่ถึง ตามหลักดินแดน.... แต่หากทำผิดสากล ไม่รอดนะครับ ... ต้องขึ้นศาลโลกอย่างเดียวนะ
ซิบอกให้
No man's land คือ ....
ตอบลบดินแดนที่ไม่มีเจ้าของ[1] (ละติน: TERRA NULLIUS) เป็นศัพท์ซึ่งมีที่มาจากกฎหมายโรมัน หมายความว่า ดินแดนที่ไม่เป็นของผู้หนึ่งผู้ใด หรือดินแดนไร้ผู้ครอบครอง (no mans' land)[2] ศัพท์นี้ใช้ในกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง หมายความว่า ดอนแดนที่ไม่เคยตกอยู่ในอำนาจอธิปไตยของรัฐใด ๆ หรือซึ่งไม่มีรัฏฐาธิปัตย์ใด ๆ เคยสละอำนาจอธิปไตยไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนที่ไม่มีเจ้าของนั้นอาจได้มาโดยการยึดครอง[3] แต่ในบางกรณี การยึดครองดินแดนเช่นนั้นอาจเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศหรือสนธิสัญญาได้